แผนที่นำทาง SDG4

แผนที่นำทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา SDG4 Roadmap กระทรวงศึกษาธิการ

4

Quality
Education

ความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายหลักที่ 4) กับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ


                     เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ภายในปี 2573 เป็นการสร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัย ที่มีราคาที่สามารถจ่ายได้และมีคุณภาพ เพิ่มจำนวนเยาวชน
และผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพ สำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดี และการเป็นผู้ประกอบการ ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียมสร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ในสัดส่วนสูง ทั้งชายและหญิง สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                 รวมไปถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความนิยมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและในส่วนร่วมของวัฒนธรรมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างและยกระดับ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการศึกษาที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการและเพศสภาวะ และให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน ขยายจำนวนทุนการศึกษา ในทั่วโลกที่ให้สำหรับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศในแอฟริกา ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ในประเทศพัฒนาแล้ว
และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ และเพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพ รวมถึงการดำเนินการผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา เฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก

                        ความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมาย 4) กับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
คือ ประเด็นแผนแม่บท (2) การต่างประเทศ (10) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (11) การพัฒนาศักยภาพคน
ตลอดช่วงชีวิต และ (12) การพัฒนาการเรียนรู้ แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และแผนการศึกษาแห่งชาติ

กระทรวงศึกษาธิการ

สาระสำคัญของแผนที่นำทางฯ

สาระสำคัญของแผนที่นำทางฯ กระทรวงศึกษาธิการ  เห็นสมควรนำองค์ประกอบของแผนที่นำทางฯ ที่ สศช. กำหนดให้มากำหนดเป็นเนื้อหาสาระของแผนที่นำทางฯ SDG4 Roadmap ดังนี้
         1. การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (เป้าหมายหลักที่ 4)
         2. การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การกำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (เป้าหมายหลักที่ 4)ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

          1. ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ตามที่ สศช. กำหนดให้การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นองค์ประกอบสำคัญของแผนที่นำทางฯ ที่หน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักต้องดำเนินการ ซึ่งในการดำเนินงานจัดทำแผนที่นำทางฯ SDG4 Roadmap กระทรวงศึกษาธิการได้นำผลการวิเคราะห์จากข้อมูลความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายย่อยภายใต้เป้าหมายหลักที่ 4 กับเป้าหมายการพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 2 การต่างประเทศ ประเด็นที่ 10 ปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม ประเด็นที่ 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และประเด็นที่ 12 การพัฒนาการเรียนรู้ (จากส่วนที่ 3) ดังภาพด้านล่าง รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลความเชื่อมโยงจากห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย ( Value Chain Thailand) ในเป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องดังกล่าว

             ดังนั้น ในการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายหลักที่ 4 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้นำข้อมูลความสอดคล้องเชื่อมโยงข้างต้นมาใช้เป็นข้อมูลหลักในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดองค์ประกอบ หรือกิจกรรม และกระบวนการ และภายใต้องค์ประกอบ มีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องและทำให้การดำเนินงานสามารถบรรลุเป้าหมายหลักที่ 4 ได้ โดยในการวิเคราะห์ ต้องวิเคราะห์หาความสอดคล้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการการดำเนินงาน (ต้นทาง) ไปจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการ การดำเนินงาน (ปลายทาง) ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งแนวทางการดำเนินงาน คือ นำองค์ประกอบกระบวนการและปัจจัยจากห่วงโซ่คุณค่าของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้ง 4 ประเด็นที่เกี่ยวข้อง ที่ สศช.ได้จัดทำไว้แล้ว และการวิเคราะห์ข้อมูลบริบทและสภาวะแวดล้อมที่กี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของประเทศไทยเช่น แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนการศึกษาแห่งชาตินโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักที่ 4 มาวิเคราะห์ สังเคราะห์หาองค์ประกอบและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักที่ 4 ได้ ซึ่งผลการสังเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้

ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา เป้าหมายหลักที่ 4 (SDG4)

การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

กรอบแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมาย

กรอบแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
          1.   แนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDGs จากการที่ สศช. ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (Target) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 23 ฉบับ และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า เป้าหมาย SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายหลัก และ 169 เป้าหมายย่อยมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ทั้ง 6 ด้าน และมีความสอดคล้องกับเป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 23 ประเด็น ดังได้กล่าวแล้วในส่วนที่ 3 ซึ่ง สามารถแสดงความเชื่อมโยงจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 17 เป้าหมายหลักกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ฉบับ ได้ดังภาพต่อไปนี้

            สำหรับการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด จะดำเนินการผ่านการจัดทำแผน 3 ระดับ โดยมีการถ่ายทอดเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนที่มีการกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน กำหนดเป็นช่วงเวลาระยะ 5 ปี จากนั้น จึงมีการถ่ายทอดไปสู่แผนปฏิบัติการหรือแผนปฏิบัติราชการ ที่แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้น ตามบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน หรือมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และภาคีเครือข่าย เพื่อรองรับการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในที่สุด ดังนั้น กล่าวได้ว่า ในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามบทบาทและอำนาจหน้าที่นั้น จึงเป็นการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปด้วย โดยปริยาย รายละเอียดดังภาพต่อไปนี้

          2.กลไกการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อน SDGs

        3.  การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน SDGs การติดตามประเมินผลการขับเคลื่อน SDGs เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะจะทำให้มีข้อมูลสถานการณ์ ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานที่เป็นปัจจุบัน สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาหรือแก้ปัญหาเพื่อให้การดำเนินงานของประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ รวมถึงเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนหรือการลงทุนเพื่อการพัฒนาในแต่ละเป้าหมายได้ตรงจุดตรงประเด็น นอกจากนั้น ยังใช้เป็นข้อมูลสำหรับการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน
กพย. ได้กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักรายเป้าหมายหลัก (Goals)
และเป้าหมายย่อย (Targets) เพื่อรับผิดชอบจัดทำ Roadmap รายเป้าหมายหลัก รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม
รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนต่อฝ่ายเลขานุการด้วย สำหรับการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
ตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ใช้ระบบติดตามและ
ประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการติดตาม ตรวจสอบและ
ประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงผล ทั้งในภาพรวมการดำเนินโครงการให้หน่วยงาน
ได้รับทราบด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
นอกจากนั้น สศช. ได้จัดทำฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ
(Open Data Portal for Monitoring and Evaluating Government Projects under National Strategy: Open-D) เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งข้อมูลเปิดภาครัฐที่เชื่อมโยงชุดข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะได้พัฒนาการรายงานผลการดำเนินงานให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปสำหรับการติดตามประเมินผล SDGs มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 เห็นชอบการแบ่งกลุ่มตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เพื่อใช้สำหรับการติดตามประเมินผล ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวชี้วัดพื้นฐาน เป็นตัวชี้วัดที่ประเทศไทยมีการดำเนินการและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องแล้ว หรือมีระดับการพัฒนาที่บรรลุเป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด เช่น สัดส่วนประชากร
ที่เข้าถึงไฟฟ้า อัตราการตายของทารกอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นต้น ตัวชี้วัดกลุ่มนี้ มี 111 ตัวชี้วัด
                 กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ
ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตัวชี้วัดกลุ่มนี้มี 62 ตัวชี้วัด
                 กลุ่มที่ 3 กลุ่มตัวชี้วัดนอกเหนือยุทธศาสตร์ชาติ เป็นตัวชี้วัดที่วัดระดับการพัฒนาที่มีความก้าวหน้า
กว่าบริบทการพัฒนาของประเทศไทย ตัวชี้วัดกลุ่มนี้มี 74 ตัวชี้วัด

แนวทางการดำเนินงาน
             1. คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลฯ เห็นชอบตามแนวทางการติดตามและประเมินผลตามที่ สศช. เสนอ คือ สำหรับตัวชี้วัดกลุ่มที่ 1 ให้หน่วยงานรับผิดชอบเป้าหมายหลักดำเนินการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มที่ 2 ให้หน่วยงานรับผิดชอบเป้าหมายหลักเร่งดำเนินการติดตามและประเมินผลตัวชี้วัด
ที่มีความพร้อม ในกรณีที่ยังไม่สามารถพัฒนาข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนได้ ให้พิจารณาตัวชี้วัดเทียบเคียง (Proxy)
เสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาต่อไป ส่วนตัวชี้วัดกลุ่ม 3 ให้หน่วยงานรับผิดชอบเตรียมการพัฒนาฐานข้อมูล
เพื่อการติดตามประเมินผล เมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาสูงขึ้นสามารถดำเนินการภารกิจได้
               2. สำหรับการรายงานผลการดำเนินงาน SDGs ของหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ต่อ สศช. ให้ดำเนินการจัดทำรายงานตามองค์ประกอบ ดังภาพต่อไปนี้

      4.  สรุปกรอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศไทยจะดำเนินการผ่านรูปแบบและวิธีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เนื่องจาก SDGs กับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
ตามยุทธศาสตร์มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน ดังนั้น การดำเนินงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์ชาติ จึงเป็นการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ไปพร้อม ๆ กันอย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในช่วงปี 2021 -2030 มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อน SDGs ในภาพรวมของประเทศอย่างชัดเจน และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีคณะอนุกรรมการฯ และคณะทำงาน ที่ร่วมรับผิดชอบการดำเนินงาน อีกทั้งเพื่อให้มีกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน กพย. จึงได้เห็นชอบให้มีแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thailand’s SDG Roadmap) สำหรับในส่วนของการขับเคลื่อนระดับเป้าหมายหลัก 17 เป้าหมาย กพย. ได้กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักรายเป้าหมายหลัก (Goals) และเป้าหมายย่อย (Targets) และให้หน่วยงานรับผิดชอบเป้าหมายหลักดำเนินการจัดทำแผนที่นำทางฯ ที่สอดคล้องกับ Thailand’s SDG Roadmap เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนเป้าหมายหลัก นอกจากนั้น สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพย. ยังได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อดำเนินการขับเคลื่อน SDGs ลงสู่ระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป เป็นลำดับ ทั้งนี้ หน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักแต่ละเป้าหมายต้องดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานจัดส่งให้ สศช. เพื่อนำเสนอ กพย. ทุกปี

การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงานติดตามประเมินผล

แนวทางการดำเนินงานติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนการติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินการโดยใช้กระบวนการและกลไก ดังนี้
          1. หน่วยงานรับผิดชอบตัวชี้วัด ดำเนินการติดตามประเมินผลการดำเนินงานจากหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประมวลผล สรุปข้อมูล จัดส่งฝ่ายเลขานุการเพื่อจัดทำเป็นรายงานในภาพรวม นำเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา
           2. หน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการภาค
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จะดำเนินการติดตามประเมินผลการดำเนินงานในระดับพื้นที่ นำเสนอ คณะทำงาน
ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในแต่ละพื้นที่ และเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ตามลำดับ
           3. กระทรวงศึกษาธิการประสาน ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักเป้าหมายหลักที่ 4 จะประสาน รวบรวมข้อมูลสถิติทางการศึกษาจากหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพิ่มเติม

           4. กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักเป้าหมายหลักที่ 4
จะจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายหลักที่ 4 ตามโครงร่าง
รายงานฯ ที่ สศช. กำหนด
           5. กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบและประสานงานหลักเป้าหมายหลักที่ 4
จะจัดพิมพ์ และเผยแพร่รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนด้วย
รูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย และเข้าถึงได้ง่าย

 

แผนที่นำทางการขับเคลื่อนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4 Roadmap) จังหวัดราชบุรี

4

Quality
Education

กิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงาน
      สำหรับการดำเนินงานจัดทำสาระสำคัญของแผนที่นำทางฯ ระดับจังหวัด มีกิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
      1. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากการประชุม สัมมนา ผลงานวิจัย หรือบทความที่เกี่ยวข้อง จากเอกสารสิ่งพิมพ์ เอกสาร/ตำราที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งข้อมูลเผยแพร่ผ่านบนเว็บไซต์ต่าง ๆ
      2. สังเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นนำมาใช้เป็นกรอบสำหรับการจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (เป้าหมายที่ 4)
      3. จัดประชุมคณะทำงานฯ ยกร่างแผนที่นำทางฯ (SDG4 Roadmap) ระดับจังหวัด
      4. จัดประชุมคณะกรรมการฯ พิจารณา (ร่าง) แผนที่นำทางฯ (SDG4 Roadmap) ระดับจังหวัด
      5. นำเสนอผู้บริหารพิจารณาให้ความเห็นชอบ
      6. จัดส่งแผนที่นำทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4 Roadmap) ระดับจังหวัดฉบับสมบูรณ์ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สานักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ได้นำองค์ประกอบของแผนที่นำทางฯ SDG4 Roadmap
ที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้มาเป็นแนวทางกำหนดเป็นเนื้อหาสาระของแผนที่นำทางฯ SDG4 Roadmap ระดับจังหวัด ดังนี้
      1. การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา (เป้าหมายหลักที่ 4)
       2. การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การกำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (เป้าหมายหลักที่ 4)

SDG4

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
Ratchaburi Provincial Education Office

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 7 ถ.ไกรเพชร ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000
โทรศัพท์ 03-233-2179   โทรสาร 03-233-2180   อีเมล: rbprovincial@gmail.com
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 น. – 16.30 น.
พัฒนาโดย กลุ่มนโยบายและแผน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

Top