คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนและหน่วยงานราชการ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ปฏิบัติงานในการรับเรื่องร้องเรียนทุจริต ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องสามารถนําแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ช่องทางการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ มี 4 ช่อง ดังต่อไปนี้
1.1 ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ด้วยตนเอง
1.2 ร้องเรียน/แจ้งเบาะแสทางไปรษณีย์โดยจัดทำเป็นหนังสือ (ลงชื่อผู้ร้องเรียน) ส่งมาที่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 7 ถนนไกรเพชร ตำบลหน้าเมือง อำเภอ
เมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
1.3 ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ผ่านเว็บไซต์สำนักงานศึกษำธิการจังหวัดราชบุรี https://rbrpeo.moe.go.th/
1.4 ทางโทรศัพท์ หมายเลข 032 332 179
2. ประเภทเรื่องร้องเรียน/แจ้งเบาะแส
2.1 การบริหารจัดการ
2.2 วินัยข้าราชการ
2.3 เงินเดือนและ ค่าตอบแทน
2.4 ขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่/ หน่วยงานของรัฐ
3. รายละเอียดของข้อมูลที่ผู้ร้องควรรู้เพื่อใช้ในการร้องเรียน ได้แก่
3.1 ผู้ร้องเรียนต้องใช้ถ้อยคำหรือข้อความสุภาพ ประกอบด้วย
1. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ให้ชัดเจน
2. วัน เดือน ปี ของหนังสือร้องเรียน/แจ้งเบาะแส
3. ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ของเรื่องที่ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีมูล ข้อเท็จจริง หรือชี้ช่องทางแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่/หน่วยงาน ชัดแจ้งเพียงพอที่สามารถ ดำเนินการสืบสวน/สอบสวนได้
4. ระบุพยานเอกสาร พยานวัตถุและพยานบุคคล (ถ้ามี)
3.2 ข้อร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ต้องเป็นเรื่องจริงที่มีมูลเหตุ มิได้หวังสร้างกระแสหรือสร้างข่าวที่เสียหาย ต่อเจ้าหน้าที่หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี หรือบุคคลภายนอก
3.3 เป็นเรื่องที่ผู้ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ได้รับความไม่ชอบธรรม อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
3.4 เรื่องร้องเรียน/แจ้งเบาะแสที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ในการดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง สืบสวน สอบสวน ให้ยุติเรื่อง หรือรับทราบข้อมูล และรับทราบ เป็นข้อมูล และเก็บเป็นฐานข้อมูล
3.5 ไม่เป็นคำร้องเรียนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
1. คำร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ที่เป็นบัตรสนเทห์ เว้นแต่บัตรสนเท่ห์ระบุหลักฐานพยานแวดล้อม ชัดเจน ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอนแล้วเท่านั้น และเพียงพอที่จะทำการสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ ซึ่งเป็นไป ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 จึงจะรับไว้พิจารณาเป็นการเฉพาะเรื่อง
2. คำร้องเรียน/แจ้งเบาะแสที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการ โดยตรงหรือองค์กรอิสระที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เว้นแต่คำร้องจะระบุว่าหน่วยงานดังกล่าว ไม่ดำเนินการหรือดำเนินการแล้วยังไม่มีผลความคืบหน้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศึกษาธิการจังหวัด ราชบุรีว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่เป็นการเฉพาะกรณี
3.6 ช่องทางการร้องเรียน
1. ร้องเรียนด้วยตนเอง ณ ที่ตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
2. ร้องเรียนทางไปรษณีย์จ่าหน้าซอง เรียน ศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 7 ถ.ไกรเพชร ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000
3. ร้องเรียนทางโทรศัพท์ หมายเลข 032 332 179
4. ร้องเรียนทางเว็บไซต์ https://rbrpeo.moe.go.th
4. ขั้นตอนการปฏิบัติงานและระยะเวลาดำเนินการในการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4.1 ผู้รับผิดชอบการจัดการข้อร้องเรียนของหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบเรื่องร้องเรียนลงทะเบียนรับเรื่อง โดยกรอกแบบฟอร์มบันทึกข้อร้องเรียน ที่มีรายละเอียด ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของผู้ร้องเรียน เรื่องร้องเรียน และสถานที่เกิดเหตุ ลงสมุดบันทึก
4.2 การรับและติดตามตรวจสอบข้อร้องเรียนที่เข้ามายังหน่วยงานจากช่องทางต่าง ๆ
ดำเนินการรับและติดตามตรวจสอบข้อร้องเรียนที่เข้ามายังหน่วยงานผ่านช่องทางการร้องเรียน 4 ช่องทาง โดยมีข้อปฏิบัติตามที่กำหนด
4.3 การบันทึกข้อร้องเรียน
1. กรอกแบบฟอร์มบันทึกข้อร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีรายละเอียด ชื่อ – สกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ พฤติการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบ ช่วงเวลาการกระทำความผิดสถานที่ เกิดเหตุ
2. ทุกช่องทางที่มีการร้องเรียน เจ้าหน้าที่ต้องบันทึกข้อร้องเรียนและการร้องทุกข์ลงทะเบียนคุมข้อร้องเรียน
4.4 การประสานหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาข้อร้องเรียนและการแจ้งผู้ร้องเรียนทราบ
1. กรณีเป็นการขอข้อมูลข่าวสาร รายงานผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ และประสานงานกับผู้ที่ครอบครองเอกสาร หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ร้องขอได้ตามความประสงค์
2. ข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ ที่เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงาน/การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ผู้ถูกร้องเรียน จัดทำบันทึกข้อเสนอความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อสั่งการหรือพิจารณา
3. ข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ ที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ให้ดำเนินการประสานหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและถูกต้องหรือแนะนำให้ผู้ร้องไปดำเนินการตามหน่วยงานให้ถูกต้องต่อไป
4. ข้อร้องเรียนที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน เช่น กรณีผู้ร้องเรียนทำหนังสือร้องเรียน ความไม่ โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติงานโดยมิชอบหรือไม่ถูกต้อง ให้รายงานผู้บังคับบัญชา และเสนอความเห็นเพื่อพิจารณาสั่งการ หรือเพื่อดำเนินการตรวจสอบและแจ้งผู้ร้องเรียนทราบต่อไป
4.5 การติดตามแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน
ติดตามหน่วยงานทางการศึกษาที่อยู่ในการกำกับดูแลที่มีส่วนเกี่ยวข้องแจ้งผลการดำเนินการให้ทราบเพื่อจะได้แจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป
4.6 การรายงานผลการดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
1. ให้รวบรวมและรายงานสรุปการจัดการข้อร้องเรียน ให้ผู้บริหารทราบทุก 6 เดือน
2. ให้รวบรวมรายงานสรุปข้อร้องเรียนหลังจากสิ้นปีงบประมาณ เพื่อนำมาวิเคราะห์การจัดการ ข้อร้องเรียนในภาพรวมของสำนักงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาองค์กรต่อไป